ชิต สิงหเสนี
ชิต สิงหเสนี

ชิต สิงหเสนี

ชิต สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447[1] เป็นบุตรของพระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับนางน้อม (สกุลเดิม สุวรรณทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน 4 คน ได้แก่[2]นายชิตได้เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือมหาดเล็กห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนายชิตถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ศาลฎีกาได้พิพากษาให้นายชิตได้รับโทษประหารชีวิต[3] และถูกนำตัวไปประหารชีวิตพร้อมกับนายบุศย์ ปัทมศริน และนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งตกเป็นจำเลยร่วมในคดีเดียวกันที่เรือนจำบางขวาง เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 สิริอายุได้ 700150000000000000050 ปี 7002227000000000000227 วันในเวลาต่อมาได้มีการวิเคราะห์และศึกษาเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในภายหลังคดีได้รับการพิพากษา ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานในหมู่ผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าวว่า นายชิต สิงหเสนี พร้อมทั้งจำเลยร่วมอีก 2 คนที่ถูกประหารชีวิตพร้อมกัน อาจเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีนี้[4]

ชิต สิงหเสนี

อาชีพ มหาดเล็ก
คู่สมรส ชูเชื้อ สิงหเสนี
เกิด 5 กรกฎาคม 2447
บิดามารดา พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)
น้อม สิงหเสนี
เสียชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498 (700150000000000000050 ปี 7002227000000000000227 วัน)
เรือนจำบางขวาง
สัญชาติ ไทย

ใกล้เคียง

ชิตพล ลี้ชัยพรกุล ชิต สิงหเสนี ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ ชิติพัทธ์ แทนกลาง ชิตณรงค์ วิเศษสมภาคย์ ชิตพร กำลังมาก ชิตสึเร็งอาริงาโต ชิต บุรทัต ชิต เวชประสิทธิ์ ชิตชนก ไชยเสนสุรินธร